เทรนด์ “สุขภาพ-รักษ์โลก” มาแรง ผลสำรวจดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผย กว่า 9 ใน 10 สนใจการอยู่อาศัยแบบยั่งยืน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้

เทรนด์ “สุขภาพ-รักษ์โลก” มาแรง ผลสำรวจดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผย กว่า 9 ใน 10 สนใจการอยู่อาศัยแบบยั่งยืน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลักดันให้ทุกชีวิตบนโลกใบนี้ต้องเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตใหม่เพื่อรับมือและหาวิธีอยู่ร่วมกับสถานการณ์นี้ให้ได้ โดยเรื่องสุขภาพกลายเป็นปัจจัยหลักที่ทุกคนหันมาตระหนักถึงความสำคัญมากขึ้น รวมทั้งใส่ใจดูแลเรื่องอื่น ๆ อย่างรอบด้านในทุกมิติ ครอบคลุมไปถึงการพิจารณาคุณภาพของปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีบทบาทในการใช้ชีวิต รวมไปถึงการเลือกที่อยู่อาศัย จากที่เคยมีบทบาทเป็นปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต ตอนนี้ได้กลายเป็นพื้นที่ส่วนรวมของคนในครอบครัวที่เป็นมากกว่าเพียงแค่การพักผ่อน ส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มมองหาความยั่งยืนที่จะเข้ามายกระดับที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในระยะยาวอย่างมีคุณภาพ

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “วิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบในด้านการเติบโตของเศรษฐกิจและธุรกิจเพียงอย่างเดียว ในมุมผู้บริโภคถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตไปอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรมการเดินทาง การกิน การอยู่ การใช้จ่าย การทำงาน การเรียน หรือการพบแพทย์ ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายจากการที่ยังไม่สามารถคาดเดาตอนจบในอนาคตได้ ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพไปพร้อม ๆ กับเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ส่งสัญญาณให้เห็นชัดขึ้นจากสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ทั่วโลก

การพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงเป็นคำตอบในการใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคนี้ ทุกคนหันมาตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เข้ามามีอิทธิพลในการดำเนินชีวิต และชัดเจนขึ้นจากการปรับตัวของภาคธุรกิจต่าง ๆ เพื่อรับเทรนด์นี้ จากผลสำรวจ Global Consumer Insights Pulse Survey ของ PwC เผยว่า 76% ของผู้บริโภคชาวไทยต้องการซื้อสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือใช้บรรจุภัณฑ์น้อยที่สุด ขณะที่ 78% เลือกซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่มีจิตสำนึกและสนับสนุนการปกป้องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เห็นได้ชัดถึงแนวโน้มการเติบโตของแนวคิดรักษ์โลกที่มีอิทธิพลชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกธุรกิจ

ในขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยก็มีทิศทางการเติบโตในเทรนด์นี้เช่นกัน ผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุดเผยว่า ผู้บริโภคกว่า 9 ใน 10 (93%) ให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัยแบบยั่งยืน ที่จะช่วยผสมผสานไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเข้ากับบ้านที่เป็นสถานที่พักผ่อนได้อย่างลงตัว ที่อยู่อาศัยในอุดมคติจึงต้องมาพร้อมกับการออกแบบภายใต้แนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนในการอยู่อาศัยในระยะยาว ผู้พัฒนาอสังหาฯ จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบฟังก์ชั่นที่อยู่อาศัยทั้งในส่วนพื้นที่พักอาศัยและพื้นที่ส่วนกลางภายใต้แนวคิดการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และสร้างจุดต่างในการดึงดูดผู้บริโภคมากกว่าการแข่งขันสงครามราคาที่อาจจะดูฉาบฉวยในสายตาผู้ซื้อตอนนี้”

ความยั่งยืน” คำตอบของคนหาบ้านยุคใหม่

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด อัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัยในอุดมคติของผู้บริโภคในยุค Next Normal เพื่อยกระดับการใช้ชีวิตอย่างราบรื่นและยั่งยืนในระยะยาว

    ●  เทรนด์รักษ์โลกส่งเสริมการใช้ชีวิตประหยัดพลังงาน การ Work from Home ทำให้บ้านกลายมาเป็นสถานที่ทำงาน/เรียนออนไลน์ หรือแม้แต่พื้นที่ออกกำลังกายดูแลสุขภาพ กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นและกลายเป็นค่าไฟที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้ผู้บริโภคหันมาเลือกที่อยู่อาศัยที่มาพร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานภายใต้แนวคิดรักษ์โลกที่ช่วยประหยัดการใช้พลังงาน โดยมากกว่าครึ่ง (62%) ต้องการบ้าน/คอนโดฯ ที่มีระบบหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop) เพื่อสร้างพลังงานทางเลือกทดแทนการใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับบ้าน/คอนโดฯ ที่มาพร้อมระบบระบายความร้อน (58%) และฟังก์ชั่นดูดซับมลพิษภายในบ้าน (48%) เพื่อช่วยให้การใช้ชีวิตภายในบ้านมีความสะดวกสบายและมั่นใจยิ่งขึ้น เมื่อต้องรับมือปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่เรื่อย ๆ

    ●  นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพ การที่ผู้บริโภคหันมาตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่ชัดเจนที่สุดหลังเผชิญวิกฤติการแพร่ระบาดฯ ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรรมมาช่วยยกระดับการดูแลสุขภาพให้ง่ายขึ้นแม้ในช่วงที่ยังต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ผ่านบริการดูแลสุขภาพแบบออนไลน์ รวมไปถึงการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ที่ช่วยให้เข้าถึงการตรวจรักษาและรับการวินิจฉัยจากแพทย์ได้โดยตรง ในตลาดที่อยู่อาศัย นอกจากผู้พัฒนาอสังหาฯ จะหันมาจับมือโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสุขภาพเพื่อเพิ่มบริการดูแลสุขภาพหรือบริการทางการแพทย์ไว้ในโครงการฯ แล้ว นวัตกรรมที่เลือกใช้ในการก่อสร้างโดยตรงก็เป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเช่นกัน มากกว่าครึ่งนึงของผู้บริโภค (60%) มองว่า บ้าน/คอนโดฯ ที่ถูกออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเลือกที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมการก่อสร้างที่ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นและสะท้อนความร้อนภายนอก บ้านที่มีระบบสร้างอากาศบริสุทธิ์ ป้องกันฝุ่น PM 2.5 หรือบ้านปลอดไวรัส ก็ล้วนมีผลต่อการเลือกซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยไม่น้อย

    ●  พื้นที่ใช้สอยต้องพร้อมรองรับ Work from Home ระยะยาว แม้การทำงานที่บ้านจะไม่ใช่เรื่องใหม่และอาจกลายเป็นวิถีชีวิตที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องแม้การแพร่ระบาดฯ จะหมดไป แต่การลงทุนสร้างห้องทำงานไว้ที่บ้านอาจไม่ใช่เรื่องจำเป็นของทุกคน ดังนั้น พื้นที่ใช้สอยในบ้าน/คอนโดฯ จึงต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้รองรับการ Work from Home และอำนวยความสะดวกให้สามารถทำงานออนไลน์ได้อย่างราบรื่นเช่นกัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการทำงาน ซึ่งจะส่งผลดีและช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นไปที่สภาพแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก (65%) ตามมาด้วยการมีระบบถ่ายเทความร้อนและประหยัดพลังงานภายในห้อง (49%) และมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงรองรับการทำงานที่ลื่นไหล (48%) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้จำกัดเพียงการทำงานที่บ้านเท่านั้น แต่ยังอำนวยความสะดวกให้คนในครอบครัวสามารถใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ได้อย่างราบรื่นอีกด้วย

    ●  รถยนต์ไฟฟ้า พลิกโฉมการเดินทางยุคใหม่ การเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าและขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวและหันมาพิจารณาข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยลดการเกิดมลพิษแล้ว ยังประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบสันดาป ข้อมูลจากศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เผยว่า ยอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะสมในไทยมีโอกาสแตะ 1 ล้านคันได้ในปี 2028 หรือขยายตัวเฉลี่ยปีละ 7% จากแรงผลักดันของยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดเป็นสำคัญ นอกจากนั้น รถยนต์ไฟฟ้ายังถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจก่อนเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอีกด้วย จากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study เผยว่า ผู้บริโภคเกือบ 2 ใน 3 (64%) มองว่า การมาของรถยนต์ไฟฟ้ามีอิทธิพลในการเปลี่ยนแผนการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคต โดยผู้บริโภคจะให้ความสนใจพิจารณาบ้าน/คอนโดฯ ที่รองรับการติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือมีสถานีชาร์จให้บริการในพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อรองรับการวางแผนเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

แม้ผลกระทบจากภาพรวมเศรษฐกิจจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เร็ว ๆ นี้ แต่ความท้าทายจากการใช้ชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบันได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ผลักดันให้ผู้บริโภคเกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้รวดเร็วขึ้น การก้าวข้ามไปสู่ประสบการณ์ใหม่หลังรับมือวิกฤติในครั้งนี้ถือเป็นบททดสอบที่ทำให้ผู้บริโภคได้มองย้อนกลับไปทบทวนความต้องการและเป้าหมายในการใช้ชีวิต มองเห็นความสำคัญของการดำเนินชีวิตที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การให้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวและความยั่งยืนในการใช้ชีวิตจึงถือเป็นเทรนด์ที่ภาคธุรกิจไม่ควรมองข้าม อย่างไรก็ตาม แม้การแพร่ระบาดฯ จะหมดไปในอนาคต แต่ความสำคัญด้านสุขภาพและความยั่งยืนในการดำเนินชีวิตจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคยังคงมองหาจากผู้ประกอบการ และช่วยกระตุ้นให้ทุกคนหันมาตระหนักถึงบทบาทที่ควรรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

“เพย์ โซลูชั่น” จับมือ “ทรูมันนี่” ขยายฐานร้านค้า เปิดให้บริการรับชำระเงินผ่านแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท หนุนธุรกิจรับ Cashless สู้โควิด

“เพย์ โซลูชั่น” จับมือ “ทรูมันนี่” ขยายฐานร้านค้า เปิดให้บริการรับชำระเงินผ่านแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท หนุนธุรกิจรับ Cashless สู้โควิด

บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์แห่งแรกของเมืองไทย ร่วมกับ ทรูมันนี่ ผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายฐานร้านค้าที่เปิดให้บริการรับชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่นทรูมันนี่ วอลเล็ท เพื่อสนับสนุนธุรกิจออนไลน์ในยุคสังคมไร้เงินสด และช่วยสร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขายและขยายกิจการให้เข้าถึงฐานลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่รวมถึงผู้ใช้ทรูมันนี่มากกว่า 19 ล้านราย

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เผยว่า ‘โควิด-19’ เป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายไปสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างรวดเร็ว พร้อมระบุในอีก 12 เดือนหลังจากนี้ ผู้บริโภคชาวไทยจะเพิ่มการใช้จ่ายออนไลน์อีกถึง 43% นับเป็นโอกาสท่ามกลางวิกฤติสำหรับผู้ประกอบการในการเร่งมองหาและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเสริมช่องทางการขายเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งช่องทางการรับชำระเงินผ่านอีวอลเล็ทถือเป็นหัวใจสำคัญในการซื้อ-ขายสินค้าผ่านออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาด

เพย์ โซลูชั่น_ทรูมันนี่

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด กล่าวว่า “การร่วมมือกับทรูมันนี่ตอกย้ำถึงความทุ่มเทของเราในการพัฒนาบริการชำระเงินใหม่ ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อพร้อมสร้างความได้เปรียบในการทำธุรกิจแก่ผู้ประกอบการและร้านค้า เนื่องจากการซื้อขายสินค้าและการชำระเงินของผู้บริโภควันนี้เปลี่ยนไปใช้จ่ายแบบอีเพย์เม้นต์มากขึ้น เราจึงเพิ่มช่องทางรับชำระผ่านแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท เพื่อให้ร้านค้าสามารถเข้าถึงฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่และคุ้นเคยกับการช้อปปิ้งแบบ Cashless ได้อย่างง่ายดาย เพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายใหม่ ๆ ผ่านช่องทางชำระเงินที่รวดเร็วในแบบที่ต้องการ”

นายนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า “การจับมือกับ เพย์ โซลูชั่น จะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจและร้านค้าเชื่อมต่อธุรกิจกับแพลตฟอร์มอีเพย์เม้นต์ของทรูมันนี่ที่มอบทั้งความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน ร้านค้าจึงสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึงผู้ใช้มากกว่า 19 ล้านรายของเรา อีกทั้งเพิ่มศักยภาพธุรกิจและโอกาสปิดการขายได้รวดเร็ว”

4 ขั้นตอนการ “ชำระเงิน” ด้วยแอปฯ TrueMoney Wallet กับ เพย์ โซลูชั่น

ทรูมันนี่_ทรูมันนี่ วอลเล็ท

Red Hat และ Nutanix ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ในการให้บริการโซลูชัน Open Hybrid Multicloud

Red Hat และ Nutanix ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ในการให้บริการโซลูชัน Open Hybrid Multicloud

    • Red Hat OpenShift คือทางเลือกที่แนะนำสำหรับการใช้โซลูชัน Kubernetes อย่างเต็มรูปแบบขององค์กรบน Nutanix Cloud Platform ที่มาพร้อมอะโครโพลิสไฮเปอร์ไวเซอร์ (AHV)
    • ความร่วมมือครั้งนี้ช่วยให้ลูกค้าสร้าง ปรับขยาย และบริหารจัดการแอปพลิเคชัน เช่น คอนเทนเนอร์ไลซ์และเวอร์ชวลไลซ์คลาวด์-เนทีฟ ได้ง่ายขึ้น

Red Hat (เร้ดแฮท) ผู้ให้บริการโซลูชันเอ็นเตอร์ไพรส์โอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก และ Nutanix (นูทานิคซ์) (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริด-มัลติคลาวด์คอมพิวติ้ง ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เปิดใช้งานโซลูชันสมรรถนะสูงสำหรับการสร้าง ปรับขยาย และจัดการคลาวด์-เนทีฟ แอปพลิเคชันที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในระบบภายในองค์กรและบนไฮบริดคลาวด์ ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการนำเทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรมมาทำงานร่วมกัน ด้วยการนำ Red Hat OpenShift และ Red Hat Enterprise Linux เพื่อติดตั้ง ทำงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน และบริหารจัดการด้วย Nutanix Cloud Platform ซึ่งมาพร้อมระบบปฏิบัติการอะโครโพลิส (AOS) และอะโครโพลิสไฮเปอร์ไวเซอร์ (AHV) 

องค์ประกอบหลักของความร่วมมือในครั้งนี้ประกอบด้วย

    • Red Hat OpenShift คือทางเลือกที่แนะนำสำหรับการใช้ Kubernetes อย่างเต็มรูปแบบขององค์กรบน Nutanix Cloud Platform: ลูกค้าที่มองหาการนำ Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift ไปใช้งานบนโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) จะสามารถใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ประสิทธิภาพชั้นนำจาก Nutanix ซึ่งมีระบบปฏิบัติการอะโครโพลิส (AOS) และอะโครโพลิสไฮเปอร์ไวเซอร์ (AHV) ที่ติดตั้งมาพร้อมสรรพ 
    • Nutanix Cloud Platform เป็นทางเลือกที่แนะนำในการใช้งาน Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift บน HCI ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าใช้เวอร์ชวลไลซ์และ
      คอนเทนเนอร์ไลซ์เวิร์กโหลดบนโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จได้ โดยลูกค้าจะได้ประโยชน์จากทั้งเทคโนโลยีโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ของ Red Hat และไฮเปอร์คอนเวิร์จของ Nutanix
    • Nutanix AHV เป็นไฮเปอร์ไวเซอร์ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก Red Hat และให้การสนับสนุนการใช้ Red Hat Enterprise Linux และ OpenShift บน Nutanix Cloud Platform อย่างเต็มรูปแบบ การที่ Red Hat ให้การรับรอง AHV ของ Nutanix ให้ใช้งานกับ Red Hat Enterprise Linux และ OpenShift ในครั้งนี้ ช่วยให้ลูกค้าองค์กรได้รับโซลูชันครบวงจรที่ใช้งานกับแอปพลิเคชันคอนเทนเนอร์ไลซ์และเวอร์ชวลไลซ์คลาวด์-เนทีฟ ได้อย่างไม่ยุ่งยาก และเป็นการมอบทางเลือกในการใช้ไฮเปอร์ไวเซอร์ให้กับลูกค้าของ Red Hat โดยเฉพาะกับองค์กรจำนวนมากที่มองหาเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชันที่ทันสมัยใหม่ต่าง ๆ 
    • โรดแมปด้านวิศวกรรมที่บริษัทสองแห่งทำร่วมกันทำให้เกิดการผสานประสิทธิภาพที่แข็งแกร่ง Red Hat และ Nutanix จะให้ความสำคัญและเน้นเรื่องการทดสอบการใช้ Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift กับ Nutanix AHV อย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบความสามารถในการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้บริษัททั้งสองแห่งจะร่วมมือกันให้บริการสนับสนุนหลังการขายที่ทันท่วงทีมากขึ้นด้วยการจัดโรดแมปผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้มากขึ้น
    • ความเชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนหลังการขายที่สอดคล้องกันมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของทั้งสองบริษัทได้เร็วขึ้น ลูกค้าสามารถติดต่อบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ บริษัททั้งสองแห่งจะร่วมมือกันเพื่อมอบความช่วยเหลือที่ดีที่สุดที่มีอยู่ให้กับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองการทำงานร่วมกัน

Nutanix Cloud Platform เป็นสถาปัตยกรรมแบบกระจาย (distributed architecture) จึงให้บริการสภาพแวดล้อมไอทีที่มีความสามารถในการสเกลและมีความยืดหยุ่นสูง และเหมาะสมมากที่จะใช้กับ Red Hat OpenShift ได้ตามขนาดการใช้งานที่องค์กรต้องการ แพลตฟอร์มนี้ยังประกอบด้วยสตอเรจที่ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งช่วยแก้ความท้าทายที่ยากมากหลายประการในการคอนฟิกและบริหารจัดการสตอเรจสำหรับ stateful containers ที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเผชิญอยู่เป็นประจำ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรครั้งนี้ได้ที่นี่

 

คำกล่าวสนับสนุน

"ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการนำโซลูชันคลาวด์-เนทีฟระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรมของ Red Hat มาทำงานร่วมกับ Nutanix Cloud Platform ที่มีความเรียบง่าย คล่องตัว และยืดหยุ่น ทำให้โซลูชันของเราสามารถให้บริการแพลตฟอร์มครบวงจรให้กับลูกค้าที่สามารถสร้าง ปรับขยาย และบริหารจัดการแอปพลิเคชันแบบคอนเทนเนอร์ไลซ์และเวอร์ชวลไลซ์คลาวด์-เนทีฟ ที่อยู่บนสภาพแวดล้อมไฮบริด มัลติคลาวด์ ได้อย่างเต็มรูปแบบ"
นายราจีฟ รามาสวามี
ประธานและซีอีโอ, Nutanix
"องค์กรทั่วโลกกำลังใช้คลาวด์-เนทีฟ เวิร์กโหลดที่ทันสมัยร่วมกันอย่างหลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ การเป็นพันธมิตรกันของ Red Hat และ Nutanix ครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อตกลงในการให้การสนับสนุนหลังการขายร่วมกันของทั้งสองบริษัท ช่วยให้สามารถนำเวอร์ชวลไลซ์แอปพลิเคชัน และคอนเทนเนอร์ไลซ์เวิร์กโหลดต่าง ๆ ที่อยู่บน OpenShift มาทำงานร่วมกันกับ Cloud Platform ของ Nutanix ในแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร และช่วยขับเคลื่อนให้เกิดความเรียบง่าย คล่องตัว ปรับขยายขนาดการทำงานได้ตามต้องการ ในโลกของไฮบริด-คลาวด์ที่ซับซ้อนในปัจจุบัน"
นายอีริค เชพพาร์ด
รองประธานฝ่ายวิจัย, IDC
"Red Hat มีวิสัยทัศน์ในการผลักดันให้ไฮบริดคลาวด์เป็นตัวเลือกและความคล่องตัวให้แก่ลูกค้า การร่วมเป็นพันธมิตรกับ Nutanix เป็นการนำเทคโนโลยีไฮเปอร์คอนเวิร์จมาใช้กับโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ ซึ่งขับเคลื่อนให้เกิดทางเลือกที่ยิ่งใหญ่ในการใช้คอนเทนเนอร์ไลซ์เวิร์กโหลดให้กับลูกค้าของทั้งสองบริษัท ทั้งยังได้รับการสนับสนุนหลังการขายจากทั้งสองบริษัท"
นายพอล คอร์เมียร์
ประธานและซีอีโอ, Red Hat
"เราตื่นเต้นที่ได้เห็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีของเราทั้งสองแห่ง ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้ เราเชื่อว่าความร่วมมือนี้จะปลดล็อกทางเลือกในการโฮสต์และการใช้งาน VM และคอนเทนเนอร์เวิร์กโหลดท่ามกลางความซับซ้อนของไฮบริดคลาวด์ที่เราต้องบริหารจัดการ นอกจากนี้ทางเลือกใหม่ ๆ เหล่านี้จะสนับสนุนให้เป้าหมายต่าง ๆ ของเราสำเร็จเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพและไม่ติดขัดในเวลาที่เรามอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าของเรา"
นายริทช์ ฮาวเดค
รองประธานอาวุโสฝ่ายเทคโนโลยี, Kohl’s
"อุตสาหกรรมประกันภัยอยู่ท่ามกลางการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า เราให้การปกป้องชีวิตลูกค้า 39 ล้านรายทั่วโลกด้วยผลิตภัณฑ์และบริการของเรา เราทำงานเพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยเพื่อรองรับการมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่นให้กับลูกค้าและพนักงานของบริษัท Nutanix และ Red Hat ช่วยทำให้การใช้เทคโนโลยีของเราง่ายขึ้นและช่วยให้เราเปลี่ยนไปใช้คลาวด์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ"
นายเกาตัม รอย
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี, Unum

คุยกับ Influencer ยังไงไม่ให้ move on เป็นวงกลม”?

สื่อสาร_Influencer

คุยกับ Influencer ยังไงไม่ให้ move on เป็นวงกลม?

เสียงของ Influencer หรือกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจ มักจะดังและทรงอิทธิพลเสมอในความรู้สึกของผู้ติดตาม และอยากทำตามคำแนะนำ ไอเดียนั้น ๆ จึงกลายเป็นว่ากระบอกเสียงของ Influencer ที่ดังมาก ๆ ในสายตาผู้บริโภคนี้ เป็นอีกหนึ่ง mechanic สำหรับแบรนด์ในการสร้างการรับรู้ ความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้บริโภค นี่คือเนื้องานฝั่งประชาสัมพันธ์ จากหลาย ๆ เคสของจริง ยำรวม 3 สเต็ปการดีลงานกับ Influencer มาไว้ให้แล้วในบทความนี้ 

1. แบ่งเซกเมนต์และวาง positioning กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์

ก่อนจะเริ่มต้นบทสนทนา เราอยากให้คุณเริ่มต้นจากการเซกเมนต์และวาง positioning กลุ่ม Influencer เสียก่อน ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณอ่านเกมขาด และเลือก “บทบาท” ของ influencer ที่ตรงโจทย์แผนงานที่วางไว้ แน่นอนว่ายอด reach ยอด engagement คือมาตรวัดอันดับต้นๆ แต่หากลงดีเทลมากไปกว่านั้นจะเห็นความแตกต่าง จุดแข็ง และบทบาทของ Influencer แต่ละประเภท ให้คุณเลือกในแบบที่น่าจะตอบโจทย์งานมากที่สุด

The Many Faces of Influencer

สมมติว่าคุณกำลังตามหา Influencer สายมาร์เกตติ้ง รายชื่อจำนวนหนึ่ง pop-up เข้ามาในหัว นาย A จะทำให้แบรนด์คุณเป็นที่รู้จักในวงการการตลาด นาย B เป็น practitioner ที่เข้าใจ pros & cons ของเครื่องมือและความท้าทายของคนหน้างาน ผู้อ่านเชื่อถือเขาในฐานะผู้ใช้งานจริง ขณะที่นาย C เป็นกูรู ผู้สอน หน้าที่ต่อจากนี้คือการทำการบ้านต่อว่าแต่ละคนถนัดสื่อสารยังไง แบรนด์จะได้และสามารถให้อะไรอีกฝ่าย ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึงรูปแบบของงาน ขอบเขตงานที่ Influencer สามารถทำได้ รวมถึงการวัดผลหลังปิดจ็อบงาน

 

2. การศึกษาดูใจ

ต่อไปคือการศึกษาดูใจ ขั้นตอนสำคัญที่ไม่สมควรก้าวข้าม หากอยากสร้าง relationship และประสิทธิผลของงานร่วมกันกับ Influencer ขั้นตอนนี้อาศัยความละเมียดละไมในการศึกษาทำความรู้จัก ความสนใจแบบที่ “กำลังดู ๆ กันอยู่”  และบทสนทนาจะเริ่มต้นจากตรงนั้น

    • จับ sense ความสนใจในประเด็น / กิจกรรม ที่คุณกำลังนำเสนอ
    • แจ้งความต้องการและรายละเอียดกิจกรรม
    • สอบถามขอบเขตและสไตล์การทำงาน ฉายเดี่ยว? หรือ ทีม?
    • สร้างข้อตกลงเรื่องข้อมูลที่สามารถส่งมอบให้ได้หลังกิจกรรมเสร็จสิ้น (กรณีที่เป็นโปรเจกต์เสียตังค์)
    • สุดท้าย..ตกลงเรื่องงบประมาณและเงื่อนไขการชำระค่าใช้จ่าย (กรณีที่เป็นโปรเจกต์เสียตังค์)

เรากำลังพูดถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับ Influencer ซึ่งสามารถไต่ระดับความสัมพันธ์ได้ด้วยการให้เวลาและความสม่ำเสมอ ถามว่าทำไมต้องทำแบบนั้น? เพราะหากสามารถพาความสัมพันธ์ไปถึงจุดที่ลงตัวกันทั้งสองฝ่ายแล้ว กิจกรรมและการสื่อสารต่างๆ จะเป็นไปอย่างธรรมชาติ ความจริงใจและการคอยสนับสนุนจากแบรนด์ในฐานะแหล่งข้อมูล อินไซต์ต่างๆ จะช่วยให้ Influencer “อิน” ในความเป็นแบรนด์และสื่อสารออกไปได้ตรงจุด ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้า สื่อสารกลับมาหาแบรนด์ให้เข้าใจความต้องการ ฟีดแบ๊กต่าง ๆ จากผู้บริโภค

 

3. กำหนดการวัดผล

ผลลัพธ์ที่ต้องการ? ใช้อะไรวัดผล? บทสนทนาที่ต้องคุยให้เคลียร์ยิ่งกว่าเคลียร์ก่อนเริ่มงาน

อย่างที่ทราบกันดี พลังของ Influencer สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้ Influencer ควรรับทราบว่าตัวชี้วัดความสำเร็จของโปรเจกต์นี้คืออะไร เพื่อให้อีกฝ่ายประเมินความเป็นไปได้ของงานตั้งแต่ต้นจนจบ

การวัดผลลัพธ์ระยะสั้น สามารถตรวจสอบได้จาก Performance metrics ซึ่งตัวชี้วัดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของงานนั้นๆ ย่อยคร่าวๆ ไว้ 3 สเตจ ดังนี้

Awareness Stage – กิจกรรมที่สร้าง/กระตุ้นการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแบรนด์ อาจเป็นการลงบทความ ข่าวประชาสัมพันธ์ หรือนำเสนอคอนเทนต์ใดๆ มักวัดผลโดยใช้ Posts, Reach, Impressions, Reaction จากกลุ่ม audience เป็นหลัก

Consideration Stage – สเตจนี้เป็นการทำกิจกรรมหรือแคมเปญใด ๆ เพื่อให้ลูกค้าเริ่มมีปฏิสัมพันธ์บางอย่างต่อแบรนด์ โดยสื่อสารอะไรบางอย่างที่มีประโยชน์มากพอที่จะเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้า หรือยินยอมมอบข้อมูลอะไรบางอย่างให้กับแบรนด์ เช่น การดาวน์โหลดรีพอร์ต, การจัด webinar / workshop, การขอทดลองใช้ trial ฯลฯ กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่า lead generation ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสื่อสารและตั้งข้อตกลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นก่อนเริ่มงาน ไม่ว่าจะเป็น target segmentation, การ commit lead ฯลฯ ดังนั้น result ของงานมักถูกวัดจากยอด engagement, ยอด clicks ไปจนถึงจำนวนและประเภทบุคคลที่ลงชื่อมา

Lead Generation
ตัวอย่างหน้าเพจลงทะเบียนเข้าร่วม CX Champion webinar ของ Content Shifu ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายด้วยคอนเทนต์ / งานสัมมนา

Conversion Stage – สเตจปิดการขาย สั้นๆ ง่ายๆ ว่าดูที่ยอดสั่งซื้อ (orders) ที่เข้ามาจาก Influencer channel นั้น ๆ เป็นต้นว่าแจกโค้ดเฉพาะสำหรับผู้ติดตาม Influencer เพื่อรับส่วนลด ซึ่งแบรนด์สามารถวัด traffic ลูกค้าที่วิ่งเข้ามาจาก Influencer จากโค้ดหรือลิงค์ UTM ฯลฯ

FAQ_influencer

การทำการบ้าน เรียนรู้ขอบเขตความชอบ ความสนใจ สไตล์งาน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยพัฒนาบทสนทนาในแต่ละครั้ง รวมถึงสนับสนุนการทำงานของคุณและ Influencer ให้เป็นไปอย่างราบรื่น   

Source: traackr, Ourgreenfish, Content Shifu, Freepix 

“ดาต้า” นั้นสำคัญไฉน ในงานประชาสัมพันธ์

ดาต้า_ประชาสัมพันธ์

“ดาต้า” นั้นสำคัญไฉน ในงานประชาสัมพันธ์

ก็เหมือนกับทุกวงการที่ต้องมีดาต้า หรือข้อมูล “ที่ใช่” ไว้ใช้ในการทำงาน งานประชาสัมพันธ์ (PR) นั้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและส่งต่อสารเพื่อเผยแพร่ข้อมูลไปยังสื่อสาธารณะเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากจับข้อมูลมานำเสนอได้ถูกจุดย่อมสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับแบรนด์ได้อย่างที่วางแผนไว้

 

ทำการบ้านตั้งแต่ระดับ “คำ/ข้อความ” (Adjust messaging)

ดาต้าที่ได้จากคำค้นหรือการพูดถึงของผู้คนสามารถช่วยนักประชาสัมพันธ์เลือกใช้เมสเสจที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงบริบทการเล่าเรื่อง ทำไมถึงต้องสร้างความเชื่อมโยง? นั่นเพราะรูปแบบและการใช้คำสามารถส่งอิทธิพลกับการสร้าง “react” ของผู้อ่านหรือผู้ฟัง การใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสมอาจสร้างหายนะให้กับแบรนด์หรือบุคคลนั้น ๆ ได้ในชั่วพริบตา ในมุมของนักประชาสัมพันธ์ จึงมีการทำการบ้านเรื่อง keyword การใช้คำศัพท์เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น การเก็บเกี่ยวข้อมูลจากเครื่องมือจำพวก google trends หรือ social listening tool ก็สามารถจับทางแนวทางของข้อความที่น่าจะดึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ โดยกระบวนการคิดการเลือกใช้คำนั้นต้องคำนึงถึงการนำไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้คำที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบของสารที่นำเสนอ หรือการเลือกใช้คำให้ตรงกับการคำค้นใน SERP ซึ่งมีทั้งในรูปแบบการค้นแบบตัวอักษรหรือค้นหาทางเสียง แล้วแต่การใช้งาน รวมถึง CTA ที่อยากให้เกิดขึ้น ก็จะเป็นตัวกำกับคำที่ใช้และรูปแบบการเล่าเรื่อง

 

“ปัง” หรือ “แป๊ก” ให้ดาต้าเป็นตัวบอก (Proof of PR activities)

ดาต้าจะเป็นหนึ่งในเครื่องพิสูจน์ว่าแคมเปญที่จัดนั้น “ปัง” หรือ “แป๊ก” ด้วยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถแสดงผลลัพธ์ที่จับต้องได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น บริษัท ConnectWise ได้นำ Onclusive’s media analytics platform แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลด้านสื่อมาใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการมอนิเตอร์ข่าวสารไปจนถึงสามารถทำการบ้านเรื่องนักข่าว ดึงข้อมูลย้อนหลังที่นักข่าวให้ความสนใจและเขียนถึงขึ้นมาใช้ประกอบการ pitch ได้ นอกเหนือไปจากจำนวนพื้นที่สื่อที่สามารถเข้าถึงได้แล้ว การตรวจวัดลงไปถึงระดับ Earned Media Brand Sentiment, Share of Voice, และ Power of Voice ของแบรนด์และคู่แข่ง เป็นอีก factor ที่ปรากฏในรีพอร์ตงานประชาสัมพันธ์มากขึ้น

ดาต้า_ประชาสัมพันธ์
ตัวอย่างรายงานการแสดงผลค่า Sentiment และ Share of Voice ระหว่างแบรนด์

ร่องรอยดาต้าที่ถูกทิ้งไว้ในโลกโซเชียล (Behavioral insight)

การทำแคมเปญหรือกิจกรรมประชาสัมพันธ์แต่ละครั้ง ต้องวิเคราะห์ลึกไปถึงพฤติกรรมผู้บริโภคผ่านการเสพคอนเทนต์ในแชนแนลต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยตัดสินใจการลงคอนเทนต์กับสื่อหรืออินฟลูเอนเซอร์นั้น ๆ ปัจจุบันเครื่องมือดิจิทัลฟรีบางประเภทออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกทีมพีอาร์ในการเกาะติดข้อมูลเหล่านี้

ระบบ https://starngage.com/ แสดงข้อมูลผู้ติดตามอินฟลูเอนเซอร์บนแพลตฟอร์มอินสตาแกรม ระบุเรื่องเพศ สัญชาติ ฯลฯ ซึ่งสามารถนำมาช่วยประเมินอะไรบางอย่างก่อนไปต่อในการทำกิจกรรมใด ๆ

มีคำกล่าวในแวดวงประชาสัมพันธ์ว่า 65% ของประชาสัมพันธ์ยุคใหม่มองการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นทักษะสำคัญในอนาคต เพราะต่อไปดาต้าจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยตัดสินใจที่ทรงพลังสำหรับงานพีอาร์ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนกลยุทธ์, การวัดผล, และการสร้างสรรค์ผลงานอื่น ๆ ปรับปรุงภาพลักษณ์ แบรนด์ และเซอร์วิส อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ถอดรหัสได้จะไม่มีประโยชน์เลยหากขาดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่ดีจากผู้นำไปใช้ ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่นักประชาสัมพันธ์ควรให้ความสำคัญกับการฝึกสกิลขุดคุ้ยดาต้าและนำไปใช้ต่อให้เป็น