24 พิพิธภัณฑ์ในจีนเข้าร่วมแคมเปญประจำปีของอาลีเพย์ “คอลเลกชั่นการ์ดเสี่ยงทายทั้ง 5” (Five Fortune Card Collection) ด้วยชิ้นงานศิลปะดิจิทัลที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัตถุโบราณในธีมเสือ
อาลีเพย์เปิดตัวแคมเปญประจำปี “คอลเลกชั่นการ์ดเสี่ยงทายทั้ง 5” (Five Fortune Card Collection) หรือรู้จักกันในชื่อว่า Wufu เพื่อเฉลิมฉลองรับปีเสือ
ปีนี้ พิพิธภัณฑ์ 24 แห่งทั่วประเทศจีนเข้าร่วมแคมเปญดังกล่าว พร้อมกับชิ้นงานศิลปะดิจิทัล NFT ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเสือและโบราณวัตถุตามราศีของคนจีน ชิ้นงานดิจิทัลเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมจาก Topnod (鲸探) แพลตฟอร์มจากแอนท์กร๊ป (Ant Group) เพื่อใช้ในการสะสม ค้นหา และแชร์คอลเลกชั่นศิลปะดิจิทัล ก่อนหน้านี้แพลตฟอร์ม Topnod เป็นที่รู้จักในชื่อ “AntChain Fan Points” (蚂蚁链粉丝粒) จากนั้นได้รับการพัฒนาโดยมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ รวมถึงการที่มีประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีขึ้น พร้อมการอัพเกรดแบรนด์เมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 2564 ที่ผ่านมา
รายชื่อพิพิธภัณฑ์ที่เข้าร่วมแคมเปญได้แก่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ส่านซี (The Shanxi Museum), พิพิธภัณฑ์เหอเป่ย (Hebei Museum), พิพิธภัณฑ์อานฮุย (Anhui Museum), พิพิธภัณฑ์เหอหนาน (Henan Museum), พิพิธภัณฑ์นานกิง (Nanjing Museum Administration), พิพิธภัณฑ์หูหนาน (Hunan Museum) และอื่น ๆ
ผู้ใช้งานสามารถค้นหาและซื้อผลงานศิลปะดิจิทัลจากทางพิพิธภัณฑ์ผ่านแอพ Topnod และอาลีเพย์มินิโปรแกรมได้ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา ผู้ใช้งานยังสามารถรีดีมผลงานศิลปะดิจิทัลธีมเสือโดยใช้เวอร์ชวลการ์ดที่สะสมจากแคมเปญ “Five Fortune” ได้ฟรี นับจากนี้ ผู้ใช้งานสามารถแสดงชิ้นงานสะสมดิจิทัลของตัวเองในหน้า “Personal Pavilion” ในแอพ Topnod ได้เช่นกัน
จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของทางเทคโนโลยีดิจิทัล พิพิธภัณฑ์ทั่วโลกได้ตื่นตัวกับการทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชันเพื่อการคงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม สร้างการรับรู้ในสังคม และดึงดูดความสนใจของกลุ่มคนหนุ่มสาวที่เป็น tech-savvy
จากรายงานฉบับล่าสุด “บล็อกเชนช่วยฟื้นคืนมรดกทางวัฒนธรรมในยุคดิจิทัลได้อย่างไร” (How Blockchain Revives Cultural Heritage in the Digital Era)” โดยมหาวิทยาลัยจงอิงไฉจิง (Central University of Finance and Economics) 44.11% ของโบราณวัตถุในประเทศจีนอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ยิ่งเป็นโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า เปอร์เซนต์การดิจิไทซ์โบราณวัตถุยิ่งสูงขึ้นถึง 67.82% เปรียบเทียบเปอร์เซนต์การดิจิไทซ์โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในฝรั่งเศสและพิพิธภัณฑ์บริติชที่อยู่ที่ 75% และ 50% ตามลำดับ
ในเดือนตุลาคม ปี 2564 พิพิธภัณฑ์กว่า 2,000 แห่งในประเทศจีนได้เปิดตัวมินิโปรแกรมของแต่ละแห่งบนแพลตฟอร์มอาลีเพย์ ในเดือนเดียวกันนั้นแอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ก็เปิดตัว “Treasure Project” สำหรับพิพิธภัณฑ์และแกลลอรี่เพื่อออกแบบและปล่อยผลงานสะสมในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนของแอนท์เชน (AntChain) เพื่อโปรโมตผลงานศิลปะและวัฒนธรรมยุคโบราณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564 พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดหูเป่ยขายภาพศิลปะดิจิทัลชื่อดัง “ดาบแห่งโกวเจี้ยน” (Sword of Goujian) ดาบที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ดีบุกซึ่งถูกครอบครองโดยกษัตริย์จีน นามว่าโกวเจี้ยนแห่งนครยู (ระหว่างปี 2032 – 222 ก่อนปีคริสตกาล) ปัจจุบันมากกว่าครึ่งหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดในประเทศจีนได้นำเสนองานศิลปะเพื่อสะสมในรูปแบบดิจิทัลผ่านแอพ Topnod
*ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบและสร้างผลงานศิลปะดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์และศิลปิน สามารถดูได้จากวิดีโอพิพิธภัณฑ์หูหนาน (https://twitter.com/AntChain/status/1475318488398848009)